การดูแลผู้สูงอายุบุคคลที่มีโอกาสอยู่ในภาวะเปราะบางหรือ FARAILTY ง่ายที่สุดนั้นทำได้ไม่ยาก สามารถดูแลและเอาใจใส่ด้วยวิธีการธรรมดา ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่ต้องใส่ใจทุกรายละเอียดให้มากกว่าการดูแบบบุคคลทั่วไป หากเปรียบง่าย ๆ ก็เหมือนการดูแลเด็กทารกนั่นเองเพียงแต่ง่ายขึ้นเล็กน้อยตรงที่สามารถสื่อสารกันรู้เรื่องยกเว้นในกรณีที่มีปัญหาเรื่องความคิด การรับรู้หรืออัลไซเมอร์ ทั้งหมดก็เพื่อให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพการสุขภาพใจที่ดีในช่วงปั้นปลายชีวิตนั่นเอง
ความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง
ลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุที่คิดอ่านช้าลง เคลื่อนไหวไม่คล่องตัวเหมือนก่อน อ่อนเพลียง่ายและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่ยากกว่าเดิมพันนั้น ลักษณะโดยรวมเหล่านี้เรียกว่า “ภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ” FARAILTY ภาวะนี้ผู้ใกล้ชิดผู้สูงอายุสามารถสังเกตอาการร่วมอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น น้ำหนักลด เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง อ่อนแรง เมื่อเกิดลักษณะโดยรวมเช่นว่านี้แล้วการดูแลอย่างถูกต้องและใส่ใจตลอดเวลาเป็นเรื่องสำคัญ
ลักษณะผู้สู่อายุเข้าสู่ภาวะเปราะบางที่สังเกตได้ง่าย
ภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ FARAILTY ผู้ใกล้ชิดที่ดูแลหรืออยู่ร่วมครอบครัวเดียวกันสามารถสังเกตภาพรวมสุขอนามัยของผู้สูงอายุที่ดูแลอยู่ได้ง่าย ๆ ดังนี้
- สังเกตน้ำหนักตัวลดลงเองโดยไม่มีการลดน้ำหนักเฉลี่ย 5 กิโลกรัมขึ้นไป
- มีอาการอ่อนเพลีย ยืน เดิน หยิบของไม่ถนัด ถือได้ยืนได้หรือเดินได้ไม่นาน
- เคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่นาน มีอาการเหนื่อยง่ายเหนื่อยเร็ว
- ความต้องการในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง ทำได้ไม่เหมือนก่อน
ผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวที่ไม่สังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงหรือปล่อยปละละเลยผู้สูงอายุนั้น ภาวะเปราะบางจะทำให้ผู้สูงอายุเข้าสู่อาการป่วยด้วยโรคซึมเศร้าได้ง่าย รวมถึงการติดเชื้อง่าย ป่วยเจ็บด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มากขึ้นเพราะร่างกายไม่ได้ทำหรือไม่สามารถทำกิจกรรมได้ดังเดิมนั่นเอง
วิธีดูแลผู้สูงอายุให้ปราศจากภาวะเปราะบางช่องทางสู่โรคภัยไข้เจ็บ
การดูแลผู้สูงอายุให้สุขภาพกายสุขภาพใจอยู่ในภาวะปกติไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางการและทางจิตนั้น ต้องดูแลองค์รวมทั้งหมดของร่างกายไม่ใช่ดูแลเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยจากการตรวจสอบการมองเห็น การได้ยินและการทานอาหารซึ่งหมายถึงการดูแลสุขภาพตา สุขภาพหูและช่องปากให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงตามวัย เช่น ตรวจวัดสายตาประกอบแว่น ตรวจสอบการได้ยินถ้าจำเป็นต้องมีเครื่องช่วยฟัง การดูแลช่องปากทั้งหมดรวมถึงการใส่ฟันปลอมถ้าเป็น
นอกจากนี้แล้วการดูแลในด้านอื่น ๆ เช่น สุขภาพเท้าซึ่งรวมความถึงระบบไหลเวียนโลหิตที่ผู้สูงอายุจะมีอาการตะคริวและช้าตามมือตามเท้าบ่อย ๆ ขนาดของรองเท้าที่สวมใส่ต้องเหมาะสมและมีความนุ่มยืดหยุ่นดี การดูแลสมอง ความคิดความจำผ่านการบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ด้วยสารอาหารที่จำเป็นและเหมาะกับวัย เสริมสร้างทักษะให้ผู้สูงอายุได้ใช้สมองเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ หรือมีกิจกรรมใหม่ ๆ ตามสมควรให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายและที่สำคัญต้องดูแลสุขภาพจิตผู้สูงวัยอีกด้วย สอนให้ตามยุคตามสมัยให้ทัน
ต่อมาสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในผู้สูงอายุก็คือในเรื่องของระบบขับถ่าย การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน การทานอาหารที่ย่อยง่ายมีกากใยสูงรวมถึงอาหารที่เพิ่มปริมาณแคลเซียมในกระดูก ลดปริมาณการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีนและน้ำตาลที่เยอะเกินควร และสุดท้ายคือสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของผู้สูงวัยต้องมีความสะอาด ปลอดภัย อากาศถ่ายเทสะดวก แสงแดดส่องเข้าถึงมีความสว่างเพียงพอทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่อับชื้น ติดอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น ที่ตรวจจับควัน กล้องวงจรปิด เป็นต้น
สรุปดูแลผู้สูงวัยไม่ต้องหรูแต่ต้องใส่ใจทุกรายละเอียด
จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น การดูแลผู้สูงวัยได้อย่างถูกต้องและดีที่สุดต้องเริ่มจากผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวต้องเข้าใจและยอมรับสถานการณ์จริงว่า ณ เวลานี้มีผู้สูงวัยอยู่ในการดูแลของเราแล้ว เมื่อมีความเข้าใจตัดภาพจำเก่าที่อยู่ในหัวออกไปได้และเริ่มมองใหม่ เข้าใจรูปแบบการใช้ชีวิต วิธีคิดอ่านที่แตกต่างไปจากคนที่เคยเจอเท่านั้น การดูแลอย่างมีประสิทธิภาพใส่ใจรายละเอียดทุกอย่างก็สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์หรือมีเครื่องมือช่วยหรูหรา เพียงใส่ใจและดูแลครบทุกเรื่องเพียงเท่านี้บั่นปลายชีวิตผู้สูงวัยก็สุขกายสบายใจแล้ว