Osteoporosis หรือโรคภาวะกระดูกพรุน โรคเรื้อรังไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำหรับผู้สูงอายุด้วยระบบการทำงานของร่างกายที่เสื่อมถอยลงหรือมีการใช้งานที่ผิดสุขลักษณะซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการขาดฮอร์โมนทางเพศซึ่งสามารถเกิดขึ้นไปมากในผู้เข้าสูงวัยทองแต่ก็สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัยที่มีระดับฮอร์โมนเพศที่ผิดปกติ วันนี้มาเรียนรู้อาการ วิธีป้องกันและบรรเทาความป่วยเจ็บปวดจากโรคชนิดนี้กัน
กระดูกพรุนความเสื่อมของร่างกายที่นำสู่โรคอื่น ๆ ได้มากมาย
อาการเสื่อมของกระดูกที่มีลักษณะบ่งชี้เข้าสู่ภาวะของอาการกระดูกพรุน Osteoporosis ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สามารถพบเห็นได้ด้วยตาเปล่าและบางครั้งในช่วงเริ่มต้นของอาการ ผู้ป่วยแทบไม่รู้สึกถึงความผิดปกติแต่อย่างใด วิธีที่สามารถทราบถึงการเข้าสู่ภาวะโรคกระดูกพรุนต้องอาศัยการตรวจมวลกระดูกเท่านั้นถึงจะพบความผิดปกติได้ ดังนั้น ในทางการแพทย์จึงแนะนำว่าผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือหญิงที่ประจำเดือนหมดก่อนการตรวจมวลกระดูกพร้อมตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ภาวะโรคกระดูกพรุนหมายถึงภาวะที่ปริมาณของแคลเซียมในกระดูกลดลงเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกไว้แต่พบกลุ่มผู้ป่วยมากที่สุดในผู้สูงอายุ อาการที่ปรากฏชัดเจนที่สุดผู้ป่วยมีโอกาสที่กระดูกส่วนต่างๆ ของร่างกายจะแตกหรือหักได้ง่ายกว่าคนที่มีมวลกระดูกปกติ การกระแทกหรือชนเพียงเล็กน้อยส่งผลให้เกิดความเสียหายกับกระดูกได้ทันที ด้วยเหตุที่อาการแตกหักของกระดูกจะเกิดขึ้นจากการได้รับแรงกระแทกทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเท่านั้น อาการที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่าคือหลังค่อมหรือตัวเตี้ยลง
บุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของอาการโรคกระดูกพรุน
จากสถิติทางการแพทย์พบว่าในระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์ปกตินั้นโดยธรรมชาติแล้วหลังอายุ 25 ปีปริมาณแคลเซียมในกระดูกจะลดลง 3% ทุก ๆ ปีเหมือนกันทุกคน อาการความเสื่อมของกระดูกหรือมวลกระดูกลดลงมีโอกาสพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สาเหตุเกิดขึ้นจากในช่วงวัยหมดประจำเดือนรวมถึงผู้ที่มีประจำเดือนมาเร็วกว่าปกติและผู้ป่วยที่มีการรักษาด้วยการผ่าตัดรังไข่นอกจากนี้แล้วภาวะโรคกระดูกพรุนเกิดขึ้นมากในผู้สูงอายุที่มีปริมาณฮอร์โมนลดลงเนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผ่านมา เช่น ผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง
การดูแลรักษา ป้องกันไว้ก่อนกับโรคกระดูพรุน
การดูแลรักษาและป้องกันการเกิดโรคของลดภาวะเสี่ยงมวลกระดูกลดลงสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัยที่สำคัญการออกกำลังการ การบริโภคอาหารที่ถูกสุขอนามัยการใช้ชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ปริมาณแคลเซียมในร่างกายที่ลดลงทุก ๆ 3% ต่อปีสามารถเพิ่มปริมาณขึ้นได้ การบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่พอดีและเหมาะสมประกอบไปด้วย
- เลือกรูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเพศ อายุ น้ำหนัก
- บริการอาหารให้ครบ 5 หมู่ วันละ 3 มื้อหลัก 1 มื้ออาหารว่างในช่วงเวลาที่เหมาะสม
- ดื่มน้ำสะอาดในจำนวนที่เหมาะสมกับน้ำหนักของตัวเองโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ลิตรต่อวัน
- ลด ละและเลิกบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเพราะมีส่วนสำคัญในการทำลายแคลเซียมในกระดูก
- ผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรตรวจมวลกระดูกเป็นประจำทุกปี ใช้ชีวิตอย่างระวังป้องกันอุบัติเหตุ
ทั้งนี้ในเรื่องของการออกกำลังอย่างถูกวิธีนั้น แต่ละครั้งควรออกกำลังต่อเนื่องครั้งละ 30 นาทีเป็นอย่างต่ำ ไม่ต้องหักโหมดให้ร่างกายได้มีอัตราการเต้นของหัวใจมากขึ้นเร็วขึ้นกว่าปกติ ไม่เน้นปริมาณเหงื่อเพราะแต่ละคนขับเหงื่อได้แตกต่างกัน ใน 1 สัปดาห์เฉลี่ยแล้วควรออกกำลังกายให้ได้ไม่น้อยกว่า 90 นาทีหรือ 3 -5 ครั้งต่อสัปดาห์นั่นเอง การออกกำลังกายด้วยรูปแบบและวิธีที่เหมาะสมกับวัยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วันครั้งละ 30 นาทีจะช่วยให้ร่างกายได้รับแสงแดด สร้างวิตามินดีได้ ช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรง
สรุปกินถูกอยู่เป็นออกกำลังสม่ำเสมอรักษามวลกระดูกได้
จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น แม้อาการของโรคกระดูกพรุนจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัยแต่ผู้สูงอายุมีโอกาสมากที่สุดที่จะเกิดภาวะของโรคนี้และโดยเฉพาะเพศหญิงถือว่าเป็นกลุ่มเปราะบางที่สุดอีกด้วย การบริโภคอาหารถูกต้องครบทุกมื้อและครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง อาหารเสริมประเภทแคลเซียมก็ไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด